กราบสวัสดีท่านพ่อแม่พี่น้องมิตรรักนักอ่านนิยายกันดั้มและนักต่อกันพลาทุกท่าน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Gunplastory กับกระผมนาย Gold Saint เองครับ ในวันนี้เราจะขอแวะพักจากเนื้อเรื่องหลักของนิยายภาคโมบิลสูทกันดั้มฮาธาเวย์ส แฟลช (Mobile Suit Gundam Hathaway’s Flash) กันสักนิดครับ ก่อนที่เราจะเข้าสู่การสรุปเนื้อเรื่องของนิยายเล่มที่ 2 กระผมได้รับชมภาพยนต์แอนิเมชั่นเรื่องนี้ ผ่านทาง Netflix เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ดูจบแล้วจึงเกิดความสงสัยต่างๆ ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนๆ บางท่าน ก็น่าจะสงสัยเหมือนผม ผมจึงไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเจาะลึกเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับ คำศัพท์ ชื่อหน่วย สถานที่ โค้ดเนม ต่างๆ ที่ปรากฏในภาพยนต์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและมีการพูดคุยกันเท่าที่ควร กระผมจึงอยากแวะพักสักนิด เพื่อที่พ่อแม่พี่น้องทุกท่านจะได้ทำความเข้าใจและทำความรู้จักโลกของกันดั้ม ฮาธาเวธาเวย์ แฟลชภาคนี้มากยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มอรรถรสในการอ่านนิยายและการรับชมภาพยนต์แอนิเมชั่นให้มากยิ่งขึ้นร้อยเท่าพันทวี ถ้าเพื่อนๆ หากทุกท่านพร้อมกันแล้วเราก็เริ่มกันเลยครับ

องกรณ์ต่างๆ ใน Mobile Suit Gundam Hathaway

ในโลกของโมบิลสูทกันดั้มฮาธาเวย์ แฟลช (Mobile Suit Gundam Hathaway’s Flash) นั้น แน่นอนว่าจะมีองกรณ์ที่เป็นคู่กรณีขัดแย้งและองค์กรอื่นๆ ที่ปรากฎในเรื่องนั้นมีไม่มากนัก อาจเพราะด้วยตัวเนื้อหานิยายที่มีความยาวเพียงสามเล่ม ทำให้บทบาทขององกรณ์ที่เด่นชัดมีเพียง 3 องกรณ์ ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดกันว่าแต่ละองกรณ์มีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้าง

มัฟตี้ นบียู เอริน (Mufti Nabiyu Erin)

องค์กรต่อต้านรัฐบาลสหพันธ์โลก มีสถานะเป็นผู้ก่อการร้ายในสายตาสหพันธ์โลก ชื่อ มัฟตี้ นบียู เอริน (Mufti Nabiyy Erin) เป็นการเอาคำศัพท์ใน ภาษา ซูดาน อาหรับ และไอแลนด์โบราณ มารวมเข้าด้วยกัน โดยได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดปรัชญาเทวตำนานโบราณ เพื่อให้คนทั่วไปได้เห็นภาพว่ามัฟตี้ (Mufti) คือเทพยากรณ์ที่จะชี้นำหนทางที่ถูกต้องแก่มนุษย์ ซึ่งได้ผลดีเยี่ยม เพราะมัฟตี้ถูกประชาชนมองว่าเป็น โจน อ๊อฟ อาร์ค ในยุคปัจจุบัน โดยมีแนวคิดที่ต้องการให้มนุษยชาติอพยพขึ้นสู่อวกาศ เพื่อให้โลกซึ่งเป็นดวงดาวบ้านเกิดของมนุษยชาติได้พักฟื้นจากมลพิษและความเสียหายที่มนุษย์ก่อไว้นานหลายศตวรรษ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับสหพันธ์โลก แต่สิ่งที่ทำให้องค์กรนี้แตกต่างจากรัฐบาลสหพันธ์โลก คือเรื่องของแนวคิดที่ทุกคนต้องอพยพสู่อวกาศอย่างเท่าเทียมกัน และไม่ใช้ความรุนแรงในการอพยพ ซึ่งต่างจากรัฐบาลสหพันธ์โลกอย่างสิ้นเชิง เพราะรัฐบาลสหพันธ์โลกนั้นให้สิทธิพิเศษในการพักอาศัยบนโลกแก่ผู้มีตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาล และกองทัพ ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลสหพันธ์กลับดำเนินโยบายที่แข็งกร้าวในการบังคับอพยพประชาชน โดยไม่สนใจต่อหลักสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่มีการใช้ความรุนแรงในการปฎิบัติหน้าที่ มีประชาชนบาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลโลกกลับเพิกเฉยต่อการกระทำเหล่านี้ องค์กรมัฟตี้จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อต่อต้านความเลวร้ายของสหพันธ์ จากการรวมตัวกันของเหล่าบุคคลที่มีแนวคิดต่อต้านการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลโลกและกองทัพ โดยมี เควค ซันเวอร์ เป็นผู้ชักนำและสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ปฎิบัติการของมัฟตี้จะพุ่งเป้าไปที่การลอบสังหารบุคคลสำคัญของรัฐบาลสหพันธ์โลก โดยพยายามให้เกิดผลกระทบต่อปราชาชนให้น้อยที่สุด แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้เคราะห์ร้ายจากการปฎิบัติการลอบสังหาร ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนบางส่วนและรัฐบาลสหพันธ์โลกมองว่ามัฟตี้คือองค์กรก่อการร้าย

สัญลักษณ์ของ มัฟตี้ นบียู เอริน
สัญลักษณ์ของ มัฟตี้ นบียู เอริน (Mufti Nabiyy Erin)

หน่วยคีย์เค (Circe)

หน่วยรับมือ ค้นหา และกวาดล้างมัฟตี้ ของสหพันธ์ มีฐานปฎิบัติการอยู่ที่ดาเวา ตอนแรกที่จัดตั้งใช้ชื่อว่า หน่วยคิมเบอลี่ย์ตามชื่อของผู้บัญชาการ แต่ภายหลัง พันเอก เคเนธ เสลก (Kenneth Sleg) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการคนใหม่ และทำการเปลี่ยนชื่อหน่วยเป็น “คีย์เค” โดยชื่อ เคย์เคร์ (Circe) นี้ คนไทยมักจะอ่านออกเสียงว่า “เซอร์ซี” แต่ในนิยาย ปู่โทมิโนะใช้คำทับศัพย์ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งอ่านออกเสียงว่า คิ รุ เค อ(ki ru ke i) ซึ่งสอดคล้องกับคำอ่านออกเสียงตามสำเนียงกรีกว่าคีย์เคมากกว่า

เทพี Circe จากเกม Fate Grand Order
เทพี Circe จากเกม Fate Grand Order

ชื่อนี้มีรากศัพย์เดิมมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ คีย์เค หรือ เซอร์ซี คือชื่อของแม่มดแห่งศาสตร์มืดที่ปรากฏตัวในปกรนัมกรีกโบราณ เรื่องมหากาพย์โอดิสซี่ย์หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าการเดินทางของโอดิซิอุส คีย์เคเป็นบุตรสาวของ สุริยะเทพ เอลิออส และ เทพีแห่งจันทร์แรม เฮคาที ได้รับการถ่ายทอดเวทย์มนต์จากผู้เป็นแม่ ว่ากันว่าเวทย์มนต์ของคีย์เคสามารถทำให้สัตว์ที่ดุร้ายเชื่องลงได้ อีกทั้งยังสามารถสาปให้คนกลายเป็นสัตว์ได้อีกด้วย ที่เคเนธเลือกใช้ชื่อคีย์เคก็เพราะต้องการทำให้มัฟตี้ที่ดุร้ายนั้นหมดเขี้ยวเล็บ เหมือนกับที่เวทย์มนต์ของคีย์เคทำได้ ภายหลังจากเคเนธเข้ามาประจำการได้ทำการรื้อระบบบริหารและสั่งการใหม่ทั้งหมด ทำให้หน่วยคิมเบอลี่ย์ที่ปวกเปียก กลายเป็นหน่วยคีย์เคที่เข้มแข็งดุดันในชั่วข้ามคืน

ห้องบัญชาการหน่วยคีย์เค
ห้องบัญชาการหน่วยคีย์เค

ฮันเตอร์ (Hunter)

Hunter หรือ Man Hunter เป็นหน่วยที่รัฐบาลสหพันธ์โลกจัดตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่จับกุมและส่งผู้พักอาศัยอยู่บนโลกอย่างผิดกฎหมายขึ้นสู่อวกาศ Hunter คือหน่วยงานที่อยู่ตรงกลางระหว่างทหารและตำรวจ ดังนั้นการปฎิบัติการจึงเป็นเอกเทศน์ พวกมันมักจะใช้ความรุนแรงในการปฎิบัติการเสมอ มีการใช้อาวุธและความรุนแรงเข้าจับกุม การควบคุมตัวและการขนส่งผู้ต้องหาล้วนไม่ปฎิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ภาพประชาชนถูกทำร้ายจนบาดเจ็บและเสียชีวิตจึงกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้จนชินตา

แต่ทว่ารัฐบาลสหพันธ์โลกกลับเมินเฉยต่อการกระทำของ Hunter เหมือนกับว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้น นั้นเพราะจุดประสงค์หลักที่ก่อตั้งหน่วย Hunter ขึ้นมาก็เพื่อลดประชากรของผู้อยู่อาศัยบนโลก ดังนั้นรัฐบาลสหพันธ์โลกจึงหลับหูหลับตาปล่อยให้ Hunter ใช้ความรุนแรงต่อไปโดยไม่มีการลงโทษหรือเอาผิดใดๆ ทั้งสิ้น

ฮันเตอร์ใช้ความรุนแรงเข้าจับกุมประชาชน
ฮันเตอร์ใช้ความรุนแรงเข้าจับกุมประชาชน

5 สถานที่จริงที่ปรากฏใน Mobile Suit Gundam Hathaway

โมบิลสูทกันดั้มฮาธาเวย์ส แฟลช (Mobile Suit Gundam Hathaway’s Flash จมีะสถานที่สำคัญที่ปรากฏในเนื้อเรื่องหลายแห่ง บางแห่งเป็นสมรภูมิสู้รบ บางแห่งเป็นฐานทัพ บางแห่งก็แค่ถูกกล่างถึง ซึ่งสถานที่ต่างๆ นั้นล้วนมีอยู่จริงในโลกปัจจุบัน ดังนั้นในหัวข้อนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับสถานที่สำคัญที่ปรากฎในเรื่อง เพื่อที่ทุกท่านจะได้เห็นภาพเวลาที่ในนิยายหรือในภาพยนต์แอนิเมชั่น มีการกล่าวถึงเคลื่อนกำลังพลออกรบ ทุกท่านก็จะมองเห็นเส้นทางการเดินทัพ เป็นการเสริมอรรถรสในการเสพเนื้อหาครับ

เมืองดาเวา (Dabaw)

เมืองชายฝั่งของของเกาะมินดาเนา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศฟิลิปินส์ เป็นศูนย์กลางการค้า อุตสาหกรรม ความเจริญ และการบินในเขตเซาธ์แปซิฟิค ตามเนื้อเรื่องในนิยาย เมืองดาเวาแห่งนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากการตกของโคโลนี่และสงครามทำให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของดาเวาแห่งนี้ยังอุดมสมบูรณ์เหมือนเมื่อครั้งศักราชเก่า ด้วยความพรั่งพร้อมทั้งด้านธรรมชาติและความเจริญทำให้ดาเวากลายเป็นเหมืองที่เป็นแลนมาร์คสำหรับผู้มีอำนาจทั้งหลาย ในดาเวามีทั้งสนามบิน ศูนย์การค้า โรงแรมหรูสำหรับชนชั้นสูง หรือแม้กระทั่งฐานทัพใหญ่ของหน่วยคีย์เค ในเนื้อในยาย ดาเวาคือสถานที่ที่ยานฮาวเซนเปลี่ยนเส้นทางมาลงจอด เหตุการณ์จู่โจมก่อนรุ่งสางเพื่อเบนความสนใจก็เกิดที่ดาเวาแห่งนี้ ทั้งการปะทะกันของ Messer (แมสเซอร์) และ Gustav Karl (กุสตาฟ คาร์ล) รวมไปถึงการเปิดตัว Penelope Gundam (เพเนโรเป กันดั้ม) ล้วนมีฉากหลังเป็นเมืองดาเวาทั้งสิ้น

แอดิเลด (Adelaide)

เมืองชายฝั่งและเป็นเมืองหลวงของรัฐเซาธ์ออสเตเลีย เป็นเมืองใหญ่ศูนย์กลางของออสเตเลียตอนใต้ที่พรั่งพร้อมไปด้วยความเจริญและธรรมชาติยิ่งกว่าที่ดาเวาเสียอีก ที่แอดิเลดนี่ถึงแม้จะอยู่ในทวีปออสเตเลีย แต่ก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยจากการตกของโคโลนี่ที่ซิดนี่ย์ ตามเนื้อหาในนิยาย แอดดิเลด ถูกใช้เป็นสถานที่ประชุมใหญ่ของคณะรัฐบาลสหพันธ์โลก เพราะที่แอดดิแลดมีฐานทัพใหญ่ของกองทัพสหพันธ์โลกตั้งอยู่ จึงถูกเลือกด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของบรรดาเหล่ารัฐมนตรีและเอดิเลดนี่เองก็เป็นเป้าหมายโจมตีตามแผนการใหญ่ของมัฟตี้เช่นกัน นอกจากนี้การที่เคเนธถูกย้ายด่วนลงมาที่โลก ก็เพื่อเสริมกำลังป้องกันเอดิเลดเพื่อเตรียมรับมือกับการประชุมใหญ่ของรัฐบาลโลก และที่นี่เองก็คือสังเวียนตัดสินชะตาของกันดั้มทั้งสองเครื่อง (XI Gundam Vs Penelope Gundam)

โอเอนเบริ (Oenberi)

เมืองทางตอนเหนือของทวีปออสเตเลีย ในสมัยศักราชเก่ามีชื่อเรียกว่า โอเอนเปลลิ (Oenpilli) แต่ในช่วงเริ่มต้นของศักราชอวกาศที่มีการอพยพผู้คนขึ้นสู่อวกาศจำนวนมาก ทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงานผู้อพยพได้ขึ้นทะเบียนเมืองนี้ในสาระบบด้วยตัวสะกดผิด ทำให้ชื่อเมืองเปลี่ยนไปเป็น โอเอนเบริ ดังปรากฏในนิยาย จากการสืบค้นในปัจจุบันของกระผม เมืองโอเอนเปลลิ นั้น ปัจจุบันได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น Gunbalanya ซึ่งน่าจะอ่านออกเสียงว่า กุนบาลาเนีย เป็นภาษาถิ่นของชาว อะบอริจิน กระผมเองก็ไม่สันทันเรื่องสำเนียงพื้นถิ่น แต่คาดว่าไม่น่าจะคลาดเคลื่อนจากนี้มากนัก ในนิยายโอเอนเบริ คือสถานที่รวมตัวของเหล่าผู้คนที่ไม่พอใจและต่อต้านรัฐบาลสหพันธ์โลกมารวมตัวกัน สาเหตุหนึ่งเพราะมีข่าวลือว่าฐานปฎิบัติการของ มัฟตี้อยู่ในออสเตเลีย ก่อให้เกิดกลุ่มคนที่กล่าวอ้างชื่อมัฟตี้ในการปลุกระดมผู้คน ทำให้เหล่าผู้คนที่เห็นด้วยกับแนวคิดของมัฟตี้มารวมกันที่นี่กว่าสามหมื่นคนและพันเอก คิมเอบลี่ย์ เฮแมน ก็ได้เคลื่อนกำลังพลไปที่โอเอนเบริ เพื่อจัดการเรื่องที่เกิดขึ้น ก่อนที่ฮาวเซนจะลงจอดเพียง 1 วัน

มานาโด (Manado)

เมืองที่ตั้งอยู่บนเกาะซูลาเวสี เกาะทางทิศใต้ของประเทศอินโดนีเซีย อีกทั้งยังเป็นเมืองหลักของจังหวัดซูลาเวสีเหนืออีกด้วย ตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณอ่าวมานาโด โอบล้อมไปด้วยภูเขาและทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ตามเนื้อหาในนิยายมีการกล่าวถึงสถานที่นี้ว่าเป็นสถานที่วิจัยพันธุ์พืชของ ศาสตราจารย์ แมนสัน อามาดะ ผู้เป็นอาจารย์และหนึ่งในผู้สมรู้ร่วมคิดกับฮาธาเวย์ ตามกำหนดการปลอมที่ฮาธาเวย์แจ้งกับสำนักงานสอบสวนก็บอกว่า ตนเองมีเป้าหมายคือการเดินทางไปฝึกงานเป็นนักสังเกตุการณ์และวิจัยพันธุ์พืชที่มานาโด

โลดอยเชีย (Lodoicea)

โลดอยเชีย (Lodoicea) เป็นโค้ดเนมฐานที่ตั้งของมัฟตี้ แปลว่า ต้นมะพร้าวแฝด มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกตอนกลางของเกาะฮัลมาเฮรา (Halmahera) ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะโมลุกะ (Moluccas) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอินโดนิเซีย ภูมิประเทศเป็นชายฝั่งติดภูเขา เต็มไปด้วยป่ามะพร้าวร้อนชื้น แต่เดิมฐานโลดอยเชียเคยเป็นฐานทัพของสหพันธ์เมื่อนานมาแล้ว แต่เพราะความละเลยของกองทัพบวกกับการปกปิดของ เควค ซันเวอร์ ทำให้ฐานโลดอยเชียหายไปสารระบบของกองทัพโดยสิ้นเชิง ฐานโลดอยเชียถูกมัฟตี้ใช้เป็นฐานการเตรียมตัวสำหรับแผนรับตัวคซีกันดั้ม (XI Gundam) ที่จะตกลงมาในทะเลแถบนี้ ภายหลังถูกหน่วยคีย์เคตรวจพบ จึงต้องสละฐานในที่สุด


บุคคลที่มีการกล่าวถึง ใน Mobile Suit Gundam Hathaway

ในโลกของฮาธาเวย์แฟลชนั้น มีบุคคลที่ 3 ที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ หรือมีส่วนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเรื่อง แต่กลับไม่ปรากฏตัวในเรื่อง อีกทั้งยังไม่เคยปรากฏตัวในซีรี่ย์กันดั้มภาคอื่นๆมาก่อน ดังนั้นในหัวข้อบุคคลที่ 3 นี้เราจะมาพูดถึงข้อมูลของบุคคลเหล่านี้กันครับ ปล. ขออนุญาตไม่นับรวม เควส พารายา เพราะเคยปรากฏตัวแล้วในภาค โมบิลสูท ชาร์ เคาน์เตอร์แอทแทค (Mobile Suit Gundam: Char’s Counterattack) และ คิมเบอลี่ย์ เฮแมน เพราะจะมีบทบาทในนิยายเล่มที่ 2 และ 3 ครับ

ศาสตราจารย์ แมนสัน อามาดะ

ศาสตราจาย์ชราผู้มีความเชี่ยวชาญด้าวพันธุ์พืช เป็นอาจารย์ของฮาธาเวย์ และเป็นเพื่อนเก่ากับ เควค ซันเวอร์ อีกทั้งยังป็นหนึ่งในผู้ให้ความร่วมมือกับมัฟตี้อีกด้วย

ศาสตราจารย์ แมนสัน อามาดะ ภาพจากมังงะ
ศาสตราจารย์ แมนสัน อามาดะ ภาพจากมังงะ

เควค ซัลเวอร์

เควค ซัลเวอร์ คือโค้ดเนมของผู้ให้การสนับสนุนมัฟตี้ อดีตนายพลชราผู้เคยมีบทบาทสำคัญในกองทัพโลก เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อตั้งองค์กรมัฟตี้ นอกจากนี้ยังคอยสนับสนุนทั้งเงินทุน สถานที่ สิ่งของ การซ่อมบำรุงและอำนวยความสะดวกต่างๆให้แก่มัฟตี้ ชื่อโค้ดเนม เควค ซัลเวอร์ มีความหมายว่า “หมอลวงโลก” มีที่มาจากสมัยยุโรปกลาง ในยุคนั้นความรู้และวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าเช่นทุกวันนี้ ทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ทำการรักษากับหมอสมัยนั้น มักจะมีอาการทรุดลงหรือเสียชีวิตเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ชาวบ้านในยุคนั้นมองอาชีพหมอเป็นเหมือนนักต้มตุ๋น ประกอบกับในยุคสมัยนั้นหมอส่วนใหญ่เชื่อว่า สารปรอดมีสรรพคุณในการักษา ทำให้ไม่ว่าใครป่วยเป็นอะไรมาก็ใช้สารปรอดรักษาไว้ก่อนเป็นเบื้องต้น ผู้คนจึงขนานนามหมอในยุคนั้นว่าควิคซิลเวอร์ (Quicksilver) ต่อมาจึงได้เพี้ยนเป็นคำว่า เควค เคอรี่ (Quackery) ที่มีความมหายว่า ต้มตุ๋น หลอกลวง ลวงโลก และนี่คือที่มาของโค้ดเนม เควค ซัลเวอร์ ในตอนที่สอบสวนเกาแมนที่เคนธโกรธจนลงไม้ลงมือกับเกาแมน เพราะคิดว่าเกาแมนจงใจกวนประสาทเขา ผู้อยู่เบื้องหลังเทพยากรณ์ ก็คือ หมอจอมลวงโลก เป็นเรื่องตลกร้ายที่เคเนธรับไม่ได้

เควค ซัลเวอร์ ภาพจากมังงะ
เควค ซัลเวอร์ ภาพจากมังงะ

คาเดียส บาวเดนวูดเดน

นักธุรกิจรายใหญ่เป็นผู้ทรงอิธิพลทางด้านเศรษฐกิจ คาเดียส บาวเดนวูดเวน เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทประกันยักษ์ใหญ่บนโคโลนี่ นักธุรกิจวัยใกล้ 80 ปีผู้นี้ คือผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดู กิกิ แอนดาลูเชีย ในฐานะภรรยาเก็บ พูดง่ายๆ ว่า คาเดียสคือเสี่ยเลี้ยงของกิกินั่นเอง ส่วนตัวกิกิจะเรียกคาเดียสว่า ท่านเคาท์ ทั้งห้องเช่าที่ฮ่องกง ทั้งการได้สิทธิขึ้นฮาวเซนของกิกิ ก็ลวนเป็นผลมาจากเส้นสายของ ท่านเคาท์ ทั้งสิ้น

คาเดียส บาวเดนวูดเดน
เนื่องจากไม่สามารถหาภาพของ คาเดียส บาวเดนวูดเดน ได้ จึงขอใส่ภาพชายชราผู้มีสุขภาพแข็งแรงดีเพื่อกันว่าง

โมบิลสูท (Mobile Suit) / วิทยาการ / ยานพาหนะ

ในหัวข้อนี้นอกจากข้อมูลของโมบิลสูทแล้ว ก็จะนับรวมเอาพวก ยานภาหนะ และระบบวิทยาการที่ใช้ รวมเข้าไปด้วย ถือว่าเป็นหัวข้อแมคคานิคเหมือนๆ กัน ถ้าพร้อมกันแล้วเรามาลงรายละเอียดกันเลยครับ

Ξ Gundam / XI Gundam (คซีกันดั้ม)

Xi หรือ [ Ξ ] เป็นตัวอักษรมีที่มาจากภาษากรีก [ ξ ] คนไทยส่วนใหญ่จะออกเสียงว่า “ไซ” หรือ “ซาย” เป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นการอ่านออกเสียงสำเนียงอังกฤษ แต่ในนิยายผู้แต่งได้ใช้คำทับศัพย์ว่า ku shi i ซึ่งสอดคล้องกับการออกเสียงว่า “คซี” ตามแบบสำเนียงกรีก ในฉบับแปลไทยทางผู้แปลจึงเลือกใช้ชือ “คซี” ตามสำเนียงกรีกเดิม นอกจากนี้ตัวอักษร [ Ξ ] นี้ยังเป็นตัวอักษรลำดับถัดมาจาก v ซึ่งถูกใช้เป็นสัญลักษณ์และชื่อของนิวกันดั้ม (RX-93 ν Gundam) ที่อามุโร่ เรย์ (Amuro Ray) เป็นคนขับอีกด้ยวย

Ξ Gundam / XI Gundam (คซีกันดั้ม) นั้น ถูกพัฒนาขึ้นในสถานีวิจัยของบริษัทอนาไฮม์ อิเล็กทรอนิกส์ (Anaheim Electronics) ซึ่งมีอยู่มากมายหลายแห่งบนดวงจันทร์ ทางอนาไฮม์เองด้านหนึ่งก็ขายโมบิลสูท (Mobile Suit) และทำการวิจัยวิทยาการต่างๆ ให้กับกองทัพสหพันธ์ แต่อีกด้านหนึ่งก็แอบเอาวิทยาการนั้นมาขายให้กับมัฟตี้ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลสหพันธ์โลกอย่างลับๆ

คซีกันดั้มได้ติดตั้งระบบที่มีชื่อว่าไมนอฟสกี้คราฟท์ (Minovsky Craft) ระบบซึ่งแต่เดิมใช้กับยานรบขนาดใหญ่ แต่มันถูกย่อส่วนและนำมาติดตั้งกับโมบิลสูท (Mobile Suit)  ทำให้คซีกันดั้มสามารถบินได้อย่างอิสระในชั้นบรรยากาศ ทางมัฟตี้มีแผนการที่จะส่งคซีกันดั้มลงไปยังโลก โดยการบรรจุ คซีกันดั้ม ลงใน คาร์โก้ ปิซา สแปซชัลเติ้ล สำหรับฝ่าชั้นบรรยากาศโดนปลอมเป็นอุกกาบาตที่จะตกลงสู่โลกในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก

HGUC 1/144 RX-105 Xi Gundam
Ξ Gundam / XI Gundam (คซีกันดั้ม) ในอนิเมะ

Penelope Gundam (เพเนโลเป กันดั้ม)

Penelope เพเนโลเป หรือ เพเนโลพี เป็นโมบิลสูท (Mobile Suit) ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทอนาไฮม์ อิเล็กทรอนิกส์ (Anaheim Electronics) โดยมี พันเอก เคเนธ สเลก (Kenneth Sleg) แห่งกองทัพสพันธ์โลกเป็นตัวตั้งตัวตีในการพัฒนาและวิจัย Penelope เป็นชื่อตัวละครหญิงสาวจากมหากาพย์โอดิสซี่ย์ ปกรณัมแห่งเทวตำนานกรีก เธอเป็นภรรยาของโอดิซิอุสที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี ตอนที่โอดิซิอุสเผชิญกับอุปสรรค์ระหว่างทางกลับจากศึกที่กรุงทรอยโดยไม่รู้ว่าเป็นหรือตาย Penelope ถูกบีบบังคับให้แต่งงานใหม่ แต่นางก็ยื่นเงื่อนไขและทำอุบายหลบเลี่ยงมาตลอด 3 ปี จนในที่สุดโอดิซิอุสก็กลับมา นางจึงถูกยกย่องว่าเป็นหญิงผู้สื่อสัตย์ต่อสามี

ตัวโมบิลสูท (Mobile Suit) ของ Penelope Gundam นั้นเกิดจากการรวมตัวกันของ โอดิซิอุส กันดั้ม (Odysseus Gundam) และ FF Fight Unit ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้สามารถบินได้ในชั้นบรรยากาศ เพราะตัว FF Fight Unit นั้นได้ติดตั้ง ไมนอฟสกี้คราฟท์ (Minovsky Craft) ไว้ ซึ่งชิ้นส่วนที่ติดตั้งนั้นสามารถแยกส่วนออกจากันได้ แต่เมื่อแยกแล้ว ก็จะสูญเสียความสามารถในการบินไป

Odysseus Gundam และ FF Fight Unit
โอดิซิอุส กันดั้ม (Odysseus Gundam) และ FF Fight Unit ในอนิเมะ

Penelope Gundam (เพเนโลเป กันดั้ม) ถูกส่งตัวมาประจำการที่ดาเวาล่วงหน้า ก่อนที่เคเนธจะมาประจำการที่นี่แทนคิมเบอลี่ย์ แต่ถึงแม้จะเป็นภารกิจด่วน เคเนธก็ต้องเดินเรื่องและทำเอกสารหลายสิบฉบับกว่าจะสามารถขนส่ง Penelope ลงมาที่โลกได้ เล่นเอาเคเนธบ่นอุบเลยทีเดียว

HGUC 1/144 RX-104FF Penelope
Penelope Gundam (เพเนโลเป กันดั้ม) ในอนิเมะ

วิทยาการไมนอฟสกี้คราฟท์ (Minovsky Craft)

ไมนอฟสกี้คราฟท์ (Minovsky Craft) คือระบบที่สามารถต้านทานแรงโน้มถ่วงของชั้นบรรยากาศโลกได้ หลายคนมักเข้าใจผิดว่า วิทยาการไมนอฟสกี คราฟท์นั้น พึ่งถูกนำมาใช้ในภาคฮาธาเวย์สแฟลชนี้ แต่ความจริงแล้วได้ถูกใช้มานานมากแล้ว เพียงแต่ว่าถูกนำไปใช้กับยานรบไม่ใช่โมบิลสูท (Mobile Suit) วิทยาการนี้คือการทำงานของเครื่องยนต์ที่อาศัยประโยชน์จากการสะท้อนแรงสั่นสะเทือนของอนุภาคไมนอฟสกี้มาเป็นแรงขับดัน ระบบนี้สามารถให้กำเนิดแรงขับเคลื่อนที่เหนือกว่าเครื่องยนต์แบบใช้เชื้อเพลิงเคมี แต่มันก็ติดปัญหาตรงที่ว่า ถ้าไม่ใช่เตาปฎิกรนิวเคลียฟิวชั่น ระบบก็จะไม่สามารถสร้างความร้อนได้มากพอจนเกิดแรงขับดันอย่างที่ต้องการ อีกทั้งยังต้องมีพื้นที่สำหรับติดตั้งแผงสำหรับการสั่นสะเทือนของอนุภาคไมนอฟสกีอีกด้วย ด้วยข้อจำกัดด้านเทคนิคและต้นทุนเหล่านี้จึงทำให้วิทยาการไมนอฟสกีไม่ถูกนำมาใช้ในโมบิลสูท แต่ทว่าในโมบิลสูทกันดั้มฮาธาเวย์ส (Mobile Suit Gundam Hathaway) นี้ บริษัทอนาไฮม์ก็ประสบความสำเร็จในการนำเอาวิทยาการมาใส่ลงในโมบิลสูท แต่ทว่าก็มีโมบิลสูทเพียง 2 เครื่องที่ใช้วิทยาการนี้ เพราะหลังเหตุการณ์ที่แอดิเลด การสร้างโมบิลสูทขนาดใหญ่ถูกห้าม และบริษัท อนาไฮม์อิเล็กโทรนิกส์ก็เริ่มถูกลดบทบาทลงเรื่อยๆ

เสียงกรีดร้องของเพเนโลเป
เสียงกรีดร้องของเพเนโลเป เกิดจากการทำงานของระบบไมนอฟสกีคราฟท์

วาเลียน เรือข่นส่งของมันตี้

โค้ดเนมที่ใช้เรียกเรือขนส่งของมัฟตี้ที่ปลอมเป็นเรื่อประมง เป็นเรื่อขนาดใหญ่ ด้านในตัวเรือมีโรงเก็บโมบิลสูทซ่อนอยู่ ตามเนื้อเรื่องในนิยาย วาเรียนมีหน้าที่ในการเข้าเก็บกู้คซีกันดั้มที่ตกลงมาในทะเล พร้อมทั้งอุปกรณ์ซัพพอทและอะไหล่ต่างๆ ที่บรรจุอยู่ใน คาร์โก้ ปิซา แต่ทว่าแผนการถูกเปลี่ยนแปลงเพราะฐานโลดอยเชียถูกพบ ทำให้ต้องเปลี่ยนแผนจากเก็บกู้กันดั้มในทะเล เป็นการรับตัวกลางอากาศ หน้าที่ของวาเรียนจึงเปลี่ยนภารกิจมาเก็บกู้แค่อุปกรณ์และอะไหล่แทน หลังจากจบภารกิจเก็บกู้และคซีกันดั้ม (XI Gundam) ตามมาสมทบแล้ว วาเรียนที่เป็นเสมือนฐานทัพลอยน้ำของมัฟตี ก็มุ่งหน้าสู่ทวีปออสเตเลีย เพื่อเข้าตรวจสอบกองกำลังที่โอเอนเบริต่อไปทันที

วาเลียน เรือข่นส่งของมันตี้
วาเลียน เรือข่นส่งของมันตี้

กาเซซอน (Galcezon)

กาเซซอน (Galcezon) ยูนิตซัพพอทการบินภายใต้แรงโน้มถ่วงในชั้นบรรยากาศโลก ถูกใช้งานในหน่วยปฎิบัติการของมัฟตี้ พื้นฐานการใช้งานนั้น ไม่ได้ต่างจาก เบสเจบเบอร์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในกองทัพสหพันธ์ แต่กาเซซอนได้รับการออกแบบและปรับแต่งให้สามารถบรรทุกโมบิลสูทเกราะหนักขนาดใหญ่ อย่างแมสเซอร์ได้ ตัวเครื่องของกาเซซอนเองแม้จะมีการติดตั้งอาวุธสำหรับใช้ต่อสู้ แต่บทบาททีแท้จริงของกาเซซอนคือการสนับสนุนปฎิบัติการทางอากศ เพราะในภายใต้แรงโน้มถ่วงของชั้นบรรยากาศโลก โมบิลสูทไม่สามารถบินในอากาศอย่างอิสระได้

ยูนิตซับพอทการบินของมัฟตี้ กาเซซอน (Galcezon)
ยูนิตซับพอทการบินของมัฟตี้ กาเซซอน (Galcezon)

แคสซาเรีย (Kessaria)

ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายที่สุด แคสซาเรียก็คิอกาเซซอน ที่ถูกใช้โดยกองทัพสหพันธ์โลก แคสซาเรีย (Kessaria) คือ ยูนิตซับพอทการบินภายใต้แรงโน้มถ่วง แม้รูปลักษณ์ภายนอกจะต่างกันกับกาเซซอน แต่ลักษณะการใช้งานก็เหมือนกันไม่มีผิด ในเนื้อเรื่อง หน่วย คีย์เคใช้แคสซาเรียบรรทุก กุสตาร์ฟ คาร์ เวลาออกปฎิบัติการ ตอนที่หน่วยแรนเอมปะทะกับกซีครั้งแรก ฮาธาเวย์ก็เลือกเล็งยิงแคสซาเรียก่อนเป็นสำคัญ เพราะการทำลายยูนิตซัพพอทการบิน1ลำ เท่ากับกำจัดโมบิลสูทศัตรูได้ 2 เครื่อง

ยูนิตซับพอทการบินของหน่วยคีย์เค แคสซาเรีย (Kessaria)
ยูนิตซับพอทการบินของหน่วยคีย์เค แคสซาเรีย (Kessaria)

สรุป

ก็ได้จบลงไปแล้วนะครับกับการเก็บรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ในโมบิลสูทกันดั้มฮาธาเวย์ส แฟลช (Mobile Suit Gundam Hathaway’s Flash) ในเรื่องของคำศัพท์อธิบาย เช่น ชื่อหน่วย, สถานที่, บุคคล, โค้ดเนม, โมบิลสูท, วิทยาการไมนอฟสกี้คราฟท์ ซึ่งเป็นข้อมูลนิยายกันดั้มคุณภาพจาก Gunpla Story กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งครับว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนต์แอนิเมชั่นของพ่อแม่พี่น้องทุกท่าน และในสรุปนิยาย EP.5 ต่อจากนี้จะเข้าสู่เนื้อหานิยายเล่มที่ 2 กันแล้ว ใครที่อยากรู้เนื่อหาที่ไปไกลกว่าภาพยนต์แอนิเมชั่น ห้ามพลาดเด็ดขาด ส่วนตัวกระผมขอลาไปเป็นนักเดินทางในเกาะอินาซึมะ บาฟุคุ สักครู่ สัญญาว่าจะไม่ดองงานสรุปแน่นอนครับ กระผมขอลาไปก่อน สวัสดีครับ

อ่านนิยาย Hathaway’s Flash ตอนอื่นๆ

EP.6โศกนาฎกรรมที่โอเอนเบริ
EP.5เรื่องวุ่นวายของฮาธาเวย์สและการมุ่งหน้าสู้โอเอนเบริ
Special EPดูจบแล้ว Mobile Suit Gundam Hathaway มาคุยกัน
EP.4สมรภูมิกลางเวหา XI Gundam Vs Penelope Gundam
EP.3การจู่โจมก่อนรุ่งสางและการปรากฏตัวของ Penelope กับความลังเลของฮาธาเวย์
EP.2สรุป สปอย นิยาย Mobile Suit Gundam Hathaway’s Flash
EP.1สรุป สปอย นิยาย Mobile Suit Gundam Hathaway’s Flash
EP.0ประวัติและข้อมูลโดยสังเขปของ ฮาธาเวย์ โนอา (Hathaway Noa)

ฟัง Podcast Mobile Suit Gundam Hathaway’s Flash

Podcast คุยกันเรื่อง Gundam Hathaway’s Flash EP.4Podcast คุยกันเรื่องนิยาย Gundam Hathaway’s Flash EP4
Podcast คุยกันเรื่อง Gundam Hathaway’s Flash EP.3Podcast คุยกันเรื่องนิยาย Gundam Hathaway’s Flash EP3
Podcast คุยกันเรื่อง Gundam Hathaway’s Flash EP.2Podcast คุยกันเรื่องนิยาย Gundam Hathaway’s Flash EP2
Podcast คุยกันเรื่อง Gundam Hathaway’s Flash EP.1Podcast คุยกันเรื่องนิยาย Gundam Hathaway’s Flash EP1

About the Author

Gold Saint

Content Writer

ชายผู้ชื่นชอบในเรื่องราวของกันดั้ม กันพลา เขาเป็น Content Writer หลักประจำเว็บไซต์ Gunpla Story งานเขียนสรุป สปอย นิยายกันดั้ม ล้วนแล้วแต่มาจากฝีปาก (กา) ของเขาคนนี้นาม Gold Saint

View All Articles