กันพลาคืออะไร เพื่อน ๆ โมเดลเลอร์มือใหม่อาจจะมีข้อสงสัยว่า แท้ที่จริงแล้วไอ้เจ้ากันพลาเนี่ยมันคืออะไรกันแน่ คำว่า Gunpla คำว่า Gun คำแรกมาจากคำว่า Gundam และคำว่า Pla มาจากคำว่า Plastic เอามารวมเข้าด้วยกันเราจึงกลายเป็น Gunpla กันพลาคือของเล่นในรูปแบบโมเดลกันดั้ม (Model Gundam) หรือที่โมเดลเลอร์รุ่นใหญ่จะเรียกว่า “โม” เช่น “ป่ะ ต่อโมกัน”, “ไปดูโมที่สะพานเหล็กกัน”, “วันนี้มีโมออกใหม่นะครับ”, “มาต่อโมห้องเราไหม” บลา ๆ ซึ่งเจ้ากันพลาเนี่ยมันทำมาจากพลาสติกซึ่งเราจะเรียกมันว่า Gundam Plastic Model ที่เราต้องประกอบมันขึ้นมาเอง โดยจะแบ่งออกเป็นเกรด (Grade) และอัตราส่วน (Scale) ขนาดต่างๆ ได้เลือกซื้ออย่างมากมายตามความชอบของแต่ละคนในแต่ละช่วงวัย และในเนื้อหานี้ นอกจากเราจะรู้แล้วว่ากันพลาคืออะไรแล้ว เรา Gunpla Story ยังมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เบื้องต้นของประกอบกันพลา และการเลือกซื้อกันพลา รวมถึงวิธีการดูราคากันพลาพร้อมวิธีคิดเรทเงิน อีกด้วย

ซึ่งเราเชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของกันพลา (Gunpla) มาจากบริษัท Frog ในประเทศอังกฤษที่ได้ออกวางจำหน่าย Plamo Series นกเพนกวิน Scale ขนาด 1/72 ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน (อ่านประวัติกันพลาได้ที่นี่) ในปัจจุบัน บริษัท Bandai ประเทศญี่ปุ่น จะเป็นผู้ผลิตโมเดลประเภทนี้ออกจำหน่ายในรูปแบบโมเดลกันดั้มนี้ครับ

บริษัท Bandai ประเทศญี่ปุ่น
บริษัท Bandai ประเทศญี่ปุ่น

เกรดของกันพลา

โมเดลกันดั้มที่ทางบริษัทบันได (Bandai) ได้ผลิตออกมาจะมีการแบ่งเกรด (Grade) ตาม คุณภาพ รายละเอียด การแยกสี และความสมจริงของตัวโมเดล โดยมีการแบ่งเกรดที่เป็นมาตรฐานดังนี้

High Grade (HG)

ในปัจจุบันเกรด High Grade (HG) จะผลิตในอัตราส่วน 1/144 ซึ่งมีขนาดเล็ก มีการแยกสีและจุดขยับต่างๆ มีรายระเอียดในระดับหนึ่ง อาจจะมีจุดที่ต้องทำสีเพิ่มหรือติดสติกเกอร์เพื่อให้สีสมจริงขึ้น มีความรายละเอียดสวยงามใกล้เคียงกับในแอนนิเมชั่น ราคาไม่สูงมากแต่ในปัจจุบันก็มี HG 1/144 บางตัวที่มีราคาสูงจากราคามาตรฐานไปมาก

  • จำนวนแผงรันเนอร์ (Runner) 6-8 แผง
  • Foil Stickers

High Grade Universal Century (HGUC)

เป็นโมบิลสูทที่ปรากฏอยู่แต่ในปีศักราชอวกาศ U.C. (Universal Century) ได้แก่ Gundam 0079Gundam ZGundam ZZ, Gundam hathaway เป็นต้น ในซีรียส์นี้จะรวมถึง High Grade กล่องที่เขียนว่า HGAC (After War), HGFC (Future Century), HGCE (Cosmic Era) ด้วย ดูทั้งหมด

High Grade Universal Century
High Grade Universal Century

High Grade Future Century (HGFC)

High Grade Future Century (HGFC) เป็นกันพลา HG 1/144 ที่มาจากซีรียส์โมบิลไฟท์เตอร์ จีกันดั้ม (Mobile Fighter G Gundam) ในปัจจุบันนี้ได้มีกันพลาออกมาจำหน่ายทั้งหมด 6 ตัว ซึ่งในช่วงแรก ๆ ยังทำออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร การจัดท่าทางยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้นด้วยการแยกสีและจุดขยับทำได้ดีกว่าเดิม

HGFC GF13-017NJ Shining Gundam
ตัวอย่าง High Grade Future Century (HGFC)

High Grade After War (HGAW)

High Grade After War (HGAW) เป็นกันพลา HG 1/144 ที่มาจากซีรียส์อาฟเตอร์ วอร์ กันดั้ม เอ๊กซ์ (After War Gundam X) ในปัจจุบันนี้ได้มีกันพลาออกมาจำหน่ายทั้งหมด 4 ตัว ดูทั้งหมด

GX-9900-DV Gundam X Divider
ตัวอย่าง High Grade After War (HGAW)

High Grade Gundam Seed (HGGS)

High Grade Gundam Seed (HGGS) เป็นกันพลา HG 1/144 ที่มาจากซีรียส์โมบิวสูทกันดั้มซี้ด (Mobile Suit Gundam Seed) และ โมบิวสูทกันดั้มซี้ดเดสทินี (Mobile Suit Gundam Seed Destiny) โดยจะมีการแยกย่อยไปตามภาคเสริมต่างๆ กันไป ลักษณะของซีรีย์นี้นั้นก็มีความสวยงามเทียบเท่ากับ HGUC เลย การแปลงร่าง การแยกสีและอื่นๆ ก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน อีกอย่างภาคยอดนิยมอย่างภาคนี้ทำให้กันพลาซีรีน์นี้เป็นที่นิยมอย่างมาก

HG 1/144 Legend Gundam
ตัวอย่าง High Grade Gundam Seed (HGGS)

High Grade Gundam OO (HGOO)

High Grade Gundam OO (HGOO) เป็นกันพลา HG 1/144 ที่มาจากซีรียส์โมบิวสูทกันดั้มดับเบิลโอ (Mobile Suit Gundam 00) ที่กำลังมาแรงและยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดออกมา ทำให้ตอนนี้กันพลาซีรีย์นี้เรียกได้ว่า Hot มากๆ ถ้าพูดถึงคุณภาพแล้ว แทบในทุกๆด้านผมว่าทำออกมาดีมากๆเมื่อเทียบกับ HGUC โดยอาจจะเป็นรองกับ HGUC บางตัวเสียอีก

ตัวอย่าง High Grade Gundam OO (HGOO)

Master Grade (MG)

เป็น Gunpla ที่ผลิตในอัตราส่วน 1/100 มีการแยกสีมาดีมากๆ โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่ต้องทำสีหรือติดสติกเกอร์ก็ได้สีตรงกับของจริง แทบไม่มีชิ้นส่วนประกบคู่ให้เห็นรอยต่อ มีจุดขยับที่ดีกว่า High Grade (HG) มาก บางตัวสามารถคุกเข่าหรือกอดอกได้เลยทีเดียว มีรายละเอียดสูงมักจะมีการออกแบบเพิ่ม Detail เข้าไปใหม่ โดยมีรายละเอียดลึกถึงในระดับโครงใน (Inner Frame) ของตัวหุ่น ราคาสูงในระดับหนึ่ง

  • จำนวนแผงรันเนอร์ (Runner) 15-17 แผง
  • Decals / Stickers
Master Grade (MG)
Master Grade (MG)
RX-78-2 Gundam
ตัวอย่าง Master Grade (MG)

Perfect Grade (PG)

เป็น Gunpla ที่ผลิตในอัตราส่วน 1/60 การแยกสี จุดขยับ เหนือกว่า Master Grade (MG) อยู่มากเช่นส่วนมือจะสามารถขยับนิ้วได้ทุกข้อเลย และมีส่วนโครงใน (Inner Frame) ที่มีรายละเอียด ความสวยงามและความซับซ้อนสูงอีกเช่นกัน มีระบบไฟตามจุดต่างๆ เช่นที่ดวงตาและหน้าอก โดย Perfect Grade (PG) นั้นจะมีแบบให้เลือกน้อยกว่าขนาดอื่นๆ เพราะจะผลิตเฉพาะตัวที่เด่นเท่านั้น จึงมีราคาที่สูงตามความละเอียดของชิ้นงานอยู่มาก

  • จำนวนแผงรันเนอร์ (Runner) 22-24 แผง
  • Decals / Stickers
Perfect Grade (PG)
Perfect Grade (PG)
RX-78-2 Gundam
ตัวอย่าง Perfect Grade (PG)

Mega Size

เป็น Gunpla ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเลย ณ เวลานี้เลยก็ว่าได้ ด้วยที่ว่ามีขนาดที่ใหญ่รายละเอียดจุดขยับต่างๆ จึงมีน้อยชิ้น การประกอบไม่จำเป็นต้องใช้คีมตัดเพราะสามารถแกะออกมาจากรันเนอร์ได้โดยง่าย ตัวใหญ่ต่อง่าย ราคาจะสูงแต่ไม่ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับขนาดตัว

Mega Size
Mega Size

None Grade

เป็น Gunpla แบบที่ไม่มีการระบุเกรด ประกอบไปด้วย Gundam Seed, Gundam Seed Destiny, Gundam Seed Astray, Gundam Seed Stargazer และ Gundam Seed MSV ในกรณีอัตราส่วน 1/100 แบบไม่ระบุเกรด คุณภาพจะประมาณ High Grade (HG) ที่ขยายส่วน แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าำทำให้มีรายละเอียด จุดขยับ และการแยกสีที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับ Master Grade (MG) แน่นอนว่าราคาก็ไม่สูงเท่าด้วย

None Grade
None Grade
 None Grade 1/100
None Grade 1/100

Super Deform (SD Gundam)

Gundam SD จริงๆ แล้วโมเดล Gundam SD นั้นจัดเป็นพวกไม่มีเกรด และไม่มีอัตราส่วน เป็นโมเดล Gundam ที่หัวโต ตัวเล็ก แขนขาสั้น แต่น่ารัก มีการแยกสีน้อยทำให้ต้องทำสีหรือติดสติกเกอร์หลายส่วน มีจุดขยับน้อย และด้วยความที่ตัวเล็กจึงมีรายละเอียดน้อย จึงเหมาะสำหรับมือใหม่หรือเด็กๆ ที่เริ่มหัดเล่น ในปัจจุบัน SD Gundam ยังถูกผลิกออกมาให้มีคุณภาพเกือบเท่า High Grade (HG) บางตัวเลย โดยจะแบ่งออกเป็น SD Gundam อีก 4 ขนาด ดังนี้

  • จำนวนแผงรันเนอร์ (Runner) 3-4 แผง
  • Foil Stickers
Gunpla Super Deform (SD Gundam)
Gunpla Super Deform (SD Gundam)
  • SD BB Senshi เป็น SD รุ่นเก่า โดยขนาดตัวจะมีขนาดเล็กที่สุด โดยสังเกตได้จากตัวส่วนขาจะไม่มีท่อนขา จะมีแต่เท้าเท่านั้น ส่วนตัวกับส่วนลำตัวจะมีขนาดเกือบเท่ากันเลย
  • SD G-Generation เป็น SD ที่มีการพัฒนาขึ้นมาอีกหน่อยคือจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมีความละเอียดขึ้นมาหน่อย มีสามารถงอได้ 1 ระดับ
  • SD EX-Standard จะเพิ่มส่วนขาขึ้นมา มีความละเอียดกว่ารุ่นเก่า ในส่วนมือจะแบ่งเป็น 3 ท่อน คือไหล่ ศอก มือ
  • SDCS เป็น SD เกรดใหม่ที่ผลิตออกมาจะมีจุดขยับที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จุดเด่นของซีรีย์นี้คือ สามารถประกอบได้ทั้ง 4 แบบเลย แต่ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่ม
Gunpla Super Deform (SD Gundam)
Gunpla Super Deform (SD Gundam)

Real Grade (RG)

เป็น Gunpla ที่มีขนาดเท่ากันกับ High Grade (HG) แต่มีจุดเด่นที่รายละเอียดในระดับสูงมากๆ ผลิตในอัตราส่วน 1/144 ที่มีขนาดเล็ก โดยคนส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่ารายละเอียดมากว่า Master Grade (MG) เสียอีก ปัจจุบันมีให้เลือกสะสมหลายแบบมาก

  • จำนวนแผงรันเนอร์ (Runner) 9-10 แผง
  • Decals / Stickers
Real Grade (RG)
Real Grade (RG)
RG 1/144 RX-78-2 Gundam

Reborn-One Hundred (RE 1/100)

เป็นกันพลาที่เริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2014 ออกแบบโมบิลสูทมาในอัตราส่วน (Scale) 1/100 แต่เป็นคนละไลน์กับ Master Grade (MG) ภายในตัวกันพลาเกรดนี้จะไม่ซับซ้อนเท่า แต่ลักษณะภายนอกจะมีขนาดเท่ากัน ส่วนใหญ่กันพลาในซีรี่ RE/100 จะไม่มี Inner frame (โครงใน) แบบเต็มตัว เป็นการออกแบบโครงในแบบง่ายๆ

RE100 Logo
RE100 Logo
RE100 MSN-04II Nightingale
RE100 MSN-04II Nightingale

Hi-Resolution Model (HiRM)

จุดเด่นของ Hi-Resolution Model คือ มีโครงด้านใน (Inner frame) ประกอบสำเร็จมาแล้ว พร้อมข้อต่อโลหะ และ Part ส่วนชุดเกราะด้านนอกที่มีชิ้นส่วนเคลือบเงาและรายละเอียดลวดลายในเนื้องานที่ดีมาให้อยู่แล้ว จึงมีราคาที่ค่อนข้างสูง ตัวเปิดไลน์นี้คือ Gundam Barbatos ในสเกล (Scale) 1/100 

HiRM 1/100 Logo
Logo HiRM 1/100
Hi-Resolution Model Gundam Barbatos
Hi-Resolution Model Gundam Barbatos

1/100 FM เป็นไลน์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าอยู่ตรงกลางระหว่าง RE 1/100 และ MG 1/100 ด้วยการที่มันมีโครง มีโครงสร้างภายในให้ต่อแบบ MG เลยครับ เพียงแต่ว่าในเรื่องของรูปลักษณ์มองจากภายนอก รายละเอียดต่างๆของเกราะ มันมีน้อย เรียบๆ ให้ความรู้สึกว่าเป็นระดับเดียวกับ RE 1/100 มากกว่า


อัตราส่วนหรือขนาดของกันพลาโมเดล

ขนาดของ Gundam ของจริงนั้นเป็นที่เรารู้กันว่ามีขนาดใหญ่มากอย่างเช่น Gundam RX-78 ที่ยืนอยู่ที่หน้าห้าง DiverCity Tokyo Plaza ใน Odaiba Gundam ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ Gundam Front Tokyo ประเทศต้นกำเนินอย่างญี่ปุ่นนั้นมีความสูงถึง 18 เมตร ซึ่งมีอัตราส่วน (Scale) เท่ากับ 1/1 เลย ดังนั้นการผลิตโมเดลกันดั้มจึงต้องมีการย่อขนาดของ Gundam ให้เล็กลงมา จึงมีการกำหนดอัตราส่วน (Scale) ของโมเดล Gundam ต่างๆ ไว้เป็นมาตรฐานในการผลิตเพื่อจำหน่ายโดยมีอัตราส่วนที่เป็นมาตรฐาน ดังนี้

  • Gundam Scale 1/144 ได้แก่ High Grade (HG), Real Grade (RG)
  • Gundam Scale 1/100 ได้แก่ None Grade, Master Grade (MG), Reborn-One Hundred (RE/100), Hi-Resolution Model (HiRM), Full Mechanics (FM)
  • Gundam Scale 1/60 ได้แก่ Perfect Grade (PG)
  • Gundam Scale 1/48 ได้แก่ Mega Size
  • Gundam SD (Super Deform) ได้แก่ BB Senshi, G-Generation, EX-Standard, SDCS

ตัวเลขตัวอย่างของอัตราส่วน (Scale) นั้นก็คือขนาดของโมเดลต่อขนาดของจริงนั่นเองเช่น Gundam RX-78 สูง 18 เมตร โมเดลอัตราส่วน 1/144 ก็จะมีความสูงที่ถูกย่อลงมาอยู่ที่ประมาณ 13 ซม.

Gundam Scale by vcagundam.com
Gundam Scale by vcagundam.com

วิธีการเลือกซื้อกันพลาของบันได

  1. ดูว่าตราตราสัญลักษณ์ “BANDAI” ว่าสะกดถูกมั้ย ทั้งหม้ากล่อง คู่มือ และ แผง Runner
  2. ตรวจเช็ค ให้แน่ใจว่าเป็นตัวที่เราต้องการ ดูชื่อให้ดี โดยเฉพาะเรื่องเกรดครับดูได้ในหัวข้อเกรดของกันพลาครับ
  3. เช็คคู่มือประกอบ (Gunpla Manual) ว่าตรงกับโมเดลที่เราซื้อมั้ย มีหน้า มีแผง Runner ครบหรือเปล่า คู่มือหายโหลดได้ที่นี่
  4. นับจำนวนแผง Runner ในคู่มือประกอบและในกล่องว่าตรงกันหรือไม่
  5. ตรวจเช็คชิ้น Parts บนแผง Runner ว่ามีชิ้นที่หลุดจากแผงมั้ย ถ้ามีชิ้น Part ที่หลุดยังอยู่ในถุงมั้ย มีชิ้นไหนแตกเสียหายไหม
  6. ตรวจสอบประเภทและสภาพดีคอล
  7. ตรวจสอบราคาตามความเหมาะสมและความพอใจ
  8. ถ้าเป็นการซื้อ Online ต้องตรวจเช็คร้านค้าให้ดีๆ หาร้านค้าที่น่าเชื่อถือเสมอ หรือถ้าซื้อมือ 2 ต่อจากบุคคลอื่น ต้องตรวจเช็คเครดิตของผู้ขาย ลองเอาชื่อผู้ขายไปค้นหาใน Internet ว่ามีประวัติโกงไหม

วิธีการดูราคาและคิดเรทจากหน่วยเยน (¥) ของกันพลา

วิธีการดูราคาหน่วยเยนบนกล่องโมเดล โดยปกติราคาหน่วยเยน (¥) จะปรากฎอยู่บนกล่อง นอกจากนั้นยังสามารถดูราคาหน่วยเยนได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

เหนือบาร์โค้ด

ตำแหน่งนี้จะปรากฏอยู่ทุกกล่องของผลิตภัณท์ โดยจะเป็นชุดตัวเลขเหนือแถบบาร์โคท เลขราคาคือตัวเลขชุดสุดท้าย เช่น aaaa – bbbb – cccc ราคาคือ cccc เยน (¥)

ราคาเหนือบาร์โค้ด

แล้วถ้าเกิดเพื่อนๆ เจอกล่องกันพลาที่มี Logo Bandai สีฟ้าๆ หน้ากล่องแบบในรูปนี้นะครับ ไม่ต้องพลิกกล่องหาราคาให้เสียเวลาเลยเพราะถ้าเป็นกล่อง Logo สีฟ้าแบบนี้ มันจะไม่มีราคาบอกครับ ซึ่งส่วนตัวผมก็ไม่ทราบว่าทำไมมันถึงไม่มีราคาบอก ให้เพื่อนๆ เปิดเว็บที่ผมแนำนำไว้ด้านล่างหาราคาได้เลยครับ

เช็คจากเว็บไซต์

เมื่อเราทราบราคาหน่วยเยน (¥) แล้วสามารถนำมาคิดเป็นราคาหน่วยบาทด้วยการคิดจากเรตของแต่ละร้าน ร้านโดยทั่วไปจะกำหนดราคาสูงหรือต่ำกว่า 0.4 เล็กน้อย ลองคูณกันดูนะครับ ฮ่าๆ

จากรูปตัวอย่าง ราคาเงินเยน (¥) อยู่ที่ 1,500 คิดเป็นเงินไทน เรท 0.4 จะได้ 1,500*0.4 = 600 บาท นี่เป็นเพียงตัวอย่างวิธีการคิดเท่านั้นนะครับ


อุปกรณ์เบื้องต้นของประกอบกันพลา

เมื่อเราได้เรียนรู้วิธีการเลือกซื้อกันพลาหรือ Gunpla ได้แล้ว เพื่อนๆน่าจะได้ตัวที่ถูกใจกันแล้วนะครับ ในขั้นตอนต่อไปผมจะของพูดถึงอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบกันพลานะครับ หลายๆท่านอาจสงสัย “ต่อกันพลาต้องมีอุปกรณ์ด้วยหรอ” ผมขอตอบแบบไม่คิดเลยครับว่า “มี!! แล้วมันมีมากด้วย ฮ่าๆ” แล้วมันมีอะไรบ้างละ เดียวผมจะลิสเป็นหัวข้อๆ ให้ตามนี้เลยนะครับ

คีมตัดกันพลา

โดยส่วนตัวผมใช้ของ Tamiya Craft Tools 123 นะครับ ซึงคีมอันนี้ผมซื้อมาใช้น่าจะ 10 กว่าปีแล้วเห็นจะได้ ซึ่งราคาผมจำไม่ได้ว่าซื้อมาเท่าไหร่ คิดว่าจะจะหลักพันบาท แต่จุดนี้เพื่อนๆมือใหม่ไม่ต้องกังวลไปครับ คีมไหนๆ ก็ใช้ได้เหมือนกัน ผมเคยใช้ตั้งแต่ คีมอันละ 100-300 บาท ที่หาซื้อได้ทั้งไปตามสะพานเหล็ก หรือจะเป็นกันไกตัดเล็บ ผมก็เคยใช้มาแล้ว เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ต้องใช้อาร์ทไนฟ์ (Art knife) เก็บงานอยู่ดี

Tamiya เบอร์ 35
Tamiya Craft Tools 123
กรรไกตัดเล็บที่เคยเอามาตัดกันพลา
กรรไกตัดเล็บที่เคยเอามาตัดกันพลา

อาร์ทไนฟ์ (Art knife)

เมื่อเราตัดชิ้นส่วน Parts ออกมาจากแผง Runner ได้แล้ว งานต่อไปจะเป็นงานละเอียดและอาศัยทักษะความชำนาญระดับหนึ่ง นั่นคือการใช้มีดอาร์ทไนฟ์ (Art knife) เก็บงาน ค่อยๆปาดเศษพลาสติดที่ไม่ได้ใช้งานออกจากชิ้น Parts ของกันพลาเราทีละนิดๆ หรือถ้าเพื่อนๆหาไม่ได้ผมแนะนำให้ใช้มีดคัตเตอร์ช่วยได้แต่ถ้าใช้มีดคัตเตอร์ต้องมีความระมัดระวังประมาณหนึ่งเลยจากประสบการณ์มันอาจสร้างรอยแผลให้นิ้วมือเราหรือชิ้นส่วน Parts ที่เราตัดได้เลย

อาร์ทไนฟ์ (Art knife)

แผ่นรองตัด

ถ้าเรามีแผนรองตัดไว้เป็น BG ถ่ายรูปลง Social Media จะทำให้เราดูเป็นโมเดลเลอร์ขึ้น 120%

ผ่นรองตัดกัยพลา
ผ่นรองตัดผ่นรองตัดกัยพลา

ตะไบฟองน้ำ

ตะไปอันนี้เอาไว้สำหรับขัดลบจุดที่อาร์ทไนฟ์ (Art knife) ยังตัดออกไม่หมดครับ ทำใช้จุดที่ตัดนั้นมีความเรียบเนียมากขึ้นครับหรือถ้าเพื่อนๆไม่มี ผมแนะนำให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดประมาณเบอร์ 1000-2000 แทนก็ได้ครับ

ตะไบฟองน้ำ
ตะไบฟองน้ำ

Gundam Marker สำหรับตัดเส้น

เมื่อเราจัดการกับชิ้นส่วน Parts ได้เป็นที่หน้าพอใจแล้ว หลังจากที่เราประกอบเสร็จ ถ้าเพื่อนๆ ต้องการความสมจริงเพิ่มมิติให้กันพลาของเราแล้วนั้น เราควรที่จะต้องเพิ่มสิ่งเหล่านี้เข้าไปด้วย Gundam Marker วิธีใช้คือ เราจะสังเกตเห็นว่าชิ้นส่วนต่างๆ ของกันพลาเราจะมีร่องเส้นอยู่ ให้เราใช้ปากกาตัดเส้นนี้ค่อยๆ ลากลงไปในร่องเส้นนั้น ก็จะทำให้กันพลาของเรามีความสวยงามมากยิ่งขึ้น Gundam Marker จะมีให้เลือกใช้หลายสีมาก แต่สีที่ผมใช้บ่อยๆคือสีดำ ที่จะเอามาทำสีให้มันคล้ายๆกับสีคลาบน้ำมันเพิ่มความสมจริงให้กับหุ่นยนต์ สีที่ผมเคยเห็นก็จะมีสีเทา สีน้ำตาล

Gundam Marker สำหรับตัดเส้น
Gundam Marker สำหรับตัดเส้น

ยางลบและไม่ปั่นหู

ตาไม่ได้ฝาดหรอครับ ผมใช้ไม้ปั่นหูจริงๆ บางครั้งเราก็มีผิดพลาดกันได้ซึ่งเมื่อเกิดข้อปิดพลาดเราก็ต้องแก้ไขให้มันถูก ยางลบและไม่ปั่นดูคือทางออกของปัญหานี้ เมื่อเราใช้ปากกาตัดเส้นพลาดเราสามารถใช้ยางลบลบเส้นที่ไม่ได้อยู่ในร่องออกได้อย่างสบาย แต่ถ้าหมึกเกิดเข้าไปในจุดที่ยางลบไม่สามารถเข้าถึงได้ ผมจะใช้ไม้ปั่นดูนี่แหละเช็ดคราบเลอะที่ไม่ต้องการออก แต่ผมขอบอกเอาไว้เลยนะครับ ถ้าคราบเลอะมันอยู่ลึกเกินไปก็คงต้องปล่อยให้มันเลยตามเลยไป

ยางลยและไม่ปั่นหู
ยางลบและไม่ปั่นหู

วัสดุฟุ่มเฟือยอื่นๆ

ใส่ส่วนที่จะแนะนำต่อไปนี้คือเราจะมีหรือไม่มีก็ได้โดยส่วนตัวเราคิดว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่ แต่ถ้าเราคิดว่าเราจะเป็นโมเดลเลอร์แล้วต้องไปให้สุด อุปกรณ์ต้องครบ มีเวลาต่อไหมอีกเรื่องหนึ่ง ฮ่าๆ

  • X-20 Thinner น้ำยาลบคราบต่างๆที่เกิดจากการเดินไลน์ วิธีใช้คือ หงายขวดขึ้นแล้วคว่ำลงด้วยความเร็ว เปิดฝาแล้วหงายฝาขึ้น ใช้ไม่ปั่นหูเตะไปที่ก้นฝาเบาๆ ให้ติดน้ำยามาให้น้อยที่สุด ย้ำ นะครับน้อยที่สุด เสร็จแล้วนำไปลบคราบต่างๆ ได้เลย ที่ให้เตะนำยามาให้น้อยที่สุดเพราะว่าถ้าเราเตะมามากเกินไปเเล้วนำมาทาที่พลาสติก จาดประสบการณ์ส่วนตัวแล้วอาจทำให้พลายติดแตกหรือละลายได้ครับ
  • Panel Line หรือน้ำยาเดินไลน์สีดำ ขวดนี้จะให้ผลคล้ายๆกับ Gundam Marker แต่จะได้เส้นที่เล็กและคมกว่ามาก วิธีใช้คือ ให้ผสม X-20 Thinner ลงไปเพิ่มความหล่อลืน ใช้พูกันแตะไปที่น้ำยา แล้วนำไปวางไว้บนเส้นกันพลา ตัวน้ำยาจะวิ่งไปตามเส้นด้วยความไวถ้าความเข้มข้นมันไม่มากเกินไป
  • Tamiya Extra Thin Cement นำยาประสานหรือจะเรียกแบบชาวบ้านก็กาวนั่นแหละ มีไว้เพื่อใช้เป็นตัวประสานจัดต่างๆให้มันเข้าที่เข้าทาง โดยส่วนมากแล้วเข้าจะใช้ประสานส่วนที่ไม่ต้องการจะแกะออกมาเเล้วหลักการทำงานของมันคือ เมื่อเราทามันลงบนชิ้นส่วนกันพลาที่เป็นพลาสติกแล้ว ตรงพื้นที่ๆเราทำจะเกิกการละลายตัวขึ้นนิดหน่อย เมื่อเราประกบชิ้นส่วนเข้าไปแล้วพอมันแห้งเนื้อพลาสติดแทบจะกลายเป็นชิ้นเดียวกันเลย ในจุดนี้ให้เราใช้กระดาษทรายขัดลบรอยต่อนิดหน่อย ขอฝากไว้หน่อยนะครับถ้าใช้ดีๆ จะมีประโยชน์มากแต่ถ้าใช้ไม่เป็นกันพลาของเพื่อนๆ อาจพังได้ ฮ่าๆ
  • Mr.Mark Softer ขวดนี้ผมไม่แน่ใจว่าในภาษาไทยเขาเรียกกันว่าอะไรแต่ผมจะขอพูดถึงวิธีใช้แล้วกันนะครับ การใช้งานคือ จะใช้กับ Decals เมื่อเราติดเรียบร้อยแล้วให้ใช้น้ำยานี้ทาทับลงไปอีกทีจะเพิ่มความเรียบเนียนของ Decals ได้ระดับหนึ่งเลยครับ
วัสดุฟุ่มเฟือยของการประกอบกันพลาอื่นๆ
วัสดุฟุ่มเฟือยของการประกอบกันพลาอื่นๆ

อย่างที่ผมบอกไปเบื้องต้นครับว่าวัสดุพวกนี้ สำหรับเพื่อนๆ ที่พึ่งหัดประกอบกัรพลา ผมว่ายังไม่ค่อยจำเป็นซะเท่าไหร่ ให้เพื่อนๆไปโฟกัสกับการประกอบกันพลาตัวอื่นๆ ก่อนดีกว่าครับ เมื่อมีประสบการร์มากพอแล้วหรืออยากเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ก็ค่อยมาลองใช้ดูครับ

อุปกรณ์ต่างๆที่ผมใช้ในการประกอบกันพลา
อุปกรณ์ต่างๆที่ผมใช้ในการประกอบกันพลา

Podcast Gunpla Story Gunpla (กันพลา) คืออะไร?

กันพลาคืออะไร?

สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับได้ความรู้กันเยอะไหม ฮ่าๆ ทีนี้พอเรามีความรู้กันแล้วผมในนามของ Gunpla Story จึงอยากจะสรุปภาพรวมของรายละเอียดกันอีกทีนึ่งนะครับ

  • อัตราส่วน 1/144 จะมี High Grade (HG) ที่มีขนาดเล็กและราคาไม่สูงมาก เหมาะสำหรับผู้ชอบเก็บจำนวนมากๆ แต่อาจจะต้องทำสีบ้างในบางจุดถ้าอยากให้สวยเหมือนจริง เหมาะสำหรับมือใหม่ครับ เและ Real Grade (RG) ที่มีขนาดเล็กเท่ากันแต่จะเน้นไปในเรื่องของความละเอียดที่จะมีความละเอียดกว่ามาก ส่วนเรื่องของราคาก็ไม่ทิ้งกันเท่าไหร่
  • อัตราส่วน 1/100 จะมี None Grade ซึ่งจะมีใหญ่ขึ้นและมีราคาแถมราคาก็สูงขึ้นด้วย เหมาะสำหรับท่านที่ไม่ชอบประกอบกันพลาตัวเล็กๆ การแยกสีดีขึ้น ทำให้ทำสีน้อยลงหรือถ้าต้องการทำสีใหม่ก็ง่ายด้วยที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า เหมาะสำหรับมือใหม่ครับ แต่บางตัวก็มีรายละเอียดมากอยู่เหมือนกัน และ Master Grade (MG) ที่บางครั้งไม่จำเป็นต้องทำสีก็สวยแทบจะเหมือต้นฉบับ ลูกเล่นอะไรต่างๆ ก็ทำได้สมจริง เรียกได้ว่าซื้อมาประกอบเสร็จก็สวยเลย
  • อัตราส่วน 1/60 จะมี Perfect Grade (PG) มีขนาดใหญ่โต เหมาะสำหรับคนมีงบประมาณที่เยอะ ทุกๆองค์ประกอบจะมีการแยกสีให้อย่างดี งานละเอียดถึงขั้น ขยับข้อนิ้วมือได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญที่มีประสบการ ผ่านการประกอบมาหลายตัวแล้ว
  • อัตราส่วน 1/48 จะมี Mega Size ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่พอมีงบประมาณและชอบของใหญ่ๆ แต่ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่จึงมีผลิตออกมาให้เลือกซื้อเพียงไม่กี่แบบเท่านั้น
  • อัตราส่วน SD Gundam (Super Deform) ด้วยรายละเอียดที่ข้อนข้างน้อยจึงเหมาะกับเด็กที่เริ่มประกอบกันพลา จะถือว่าให้เป็นจุดเริ่มต้นของโมเดลเลอร์รุ่นเยาว์เลยก็ได้ สำหรับเกรดนี้ ตัวอย่างโมเดลเลอร์รุ่นเยาว์
Gunpla Scale

Story อื่นๆ ที่น่าสนใจ