Cross Silhouette Frame หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า CS Frame เป็นส่วนของโครงด้านใน (Inner Frame) ที่เราสามารถใช้กับ Gunpla ในตระกูล SD ที่ออกมาใหม่ โดยโครงด้านในสามารถถอดสลับปรับเปลี่ยนไปมาได้ระหว่าง SD Frame และ CS Frame โดยจะมีความแตกต่างกันที่ แขน-ขา โดยที่ CS Frame จะมี แขน-ขา และสัดส่วนอื่นๆ ที่สมจริงมากกว่าขนาด SD ทั่วไป (แต่หัวยังโตเหมือนเดิม)

Navigate Cross Silhouette Frame

  1. Box Arts
  2. Manual
  3. Runners
  4. Parts
  5. Kit Review
SD Frame (ซ้าย) และ CS Frame (ขวา)
SD Frame (ซ้าย) และ CS Frame (ขวา)

ในปัจจุบัน (ต้นปี 2564) Cross Silhouette Frame ได้มีออกจำหน่ายทั้งหมด 4 แบบ แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันที่สีของ CS Frame เพื่อความสอดคล้องกับสีของ Gunpla แต่ละตัว โดยจะประกอบไปด้วย OP01-CS Frame (White), OP02-CS Frame (Gray), OP05-CS Frame (Red), และ OP06-CS Frame (Green)

CS Frame

1. Box Arts Cross Silhouette Frame

CS Frame กล่องแรกที่ออกจำหน่ายจะเป็น Frame White ออกจำหน่ายในเดือน June ปี 2018 ในราคา 600 เยน ภายใต้รหัส OP01 และต่อมาในเดือน July ปีเดียวกัน ได้ออก Frame White Gray ในรหัส OP02 ในราคาเท่ากันกับ OP01

ในช่วงต้นปี 2020 บริษัท Bandai ได้ออกสิ้นค้าชนิดนี้ออกมาอีก 1 ชิ้น นั่นก็คือ Frame Red โดยทางบริษัทตั้งใจจะนำมารองรับ Gunpal ที่มีสีแดง ภายใต้รหัส OP05 ในราคา 600 เยน เท่ากับ 2 ตัวแรก ซึ่งตัวแรกที่ได้รับเกียรตินั้นก็คือเจ้า MS-06S Char’s Zaku II ของท่าน Char นั่นเอง

อีกตัวหนึ่งที่ได้รับเกียรติก็คือ MS-06F Zaku II MS รุ่นผลิตจำนวนมาก จะมาในรูปแบบ Frame Green ภายใต้รหัส OP06 ในราคาที่เท่ากัน

เมื่อเปิดกล่องออกมาด้านในกล่องจะประกอบไปด้วย Manual ที่พิมพ์หน้า-หลัง 1 แผ่น และก็จะมีซองใส่ Runners จำนวน 1 แผงถ้วน ย้ำอีกครั้ง 1 แผงถ้วน ซึ่งผมไม่คิดว่า Bandai จะกล้าทำแบบนี้

ผมอี้งไปจนเผลอฉีกซอง OP05 Frame Red ไป เลยไม่ได้ถ่านภาพมาให้ชมกันนะครับ

2. Manual

OP01-CS Frame (White)

OP02-CS Frame (Gray)

OP05-CS Frame (Red)

OP06-CS Frame (Green)

3. Runners

อย่างที่ผมบอกไปนะครับ จำนวนแผง Runners ของ Cross Silhouette Frame ในแต่ละกล่องจะมีเพียง 1 แผงเท่านั้น ที่น่าเจ็บใจกว่านั้นคือ แผง Runners ของทั้ง 4 กล่อง สามารถนำมาเรียงซ้อนๆ กันได่เท่ากันพอดี พูดง่ายๆ ก็คือ Bandai เปลี่ยนเพียงสีของพลาสติกเพียงเท่านั้นเอง

ผมสังเกตุเห็นว่าในแผง Runners มีหัวของ RGM-79 GM อยู่ หรือว่ามันจะสามารถประกอบเป็น GM ได้กันนะ ยังคงเป็นปริศนาที่ผมยังหาคำตอบไม่ได้ผมขอติดไว้ก่อนแล้วกันนะครับ

4. Parts

ผมเริ่มตัด Parts ทั้งหมดออกมาจากแผง Runners เพื่อที่จะเอามาเรียงดูกันก่อน ผมลองนับจะนวนชิ้นดู มีเพียง 24 ชิ้นเท่านั้น ถ้าเพื่อนๆ อยากทราบราคาต่อชิ้น ลองเอา 600 เยน หารดูนะครับ

5. Kit Review

หลังจากที่ตัด Parts ออกครบแล้ว ผมเริ่มประกอบ OP01 เป็นตัวแรก ไล่ไปจนถึง OP06 เป็นตัวสุดท้าย ระหว่างการประกอบก็นั่นคิดในใจว่าทำไม ต้องมาทำอะไรแบบเดิมถึง 4 ครั้งกันนะ

ตรงส่วนนี้ผมโฟกัสมาให้ดูเผื่อจะมีใครงงเหมือนผมว่าต้องประกอบอย่างไร

ผมเสียเวลาประกอบไปประมาณนึงเนื่องจากผมไม่ได้ดูคู่มือระหว่างประกอบ (โชว์เหนือ) ผมได้ลองเอาหัว GM มาใส่ให้ดูด้วย ดูแล้วเหมือน โครงกระดูด ยังไงก็ไม่รู้

หลังจากประกอบครบทั้ง 4 ตัวแล้วจะมี Parts 1 ชิ้นที่ผมไม่ทรายว่าใช้ทำอะไร ผมคิดว่าน่าจะเป็นของส่วนคอ มันต้องใช้เปลี่ยนกับอะไรซะอย่างแน่ๆ เดียวถ้าผมเจอคำตอบผมจะมาบอกอีกทีนะครับ

ผมประกอบเสร็จแบบงง เหมือนแบบมันไม่สุด ท่าทางผมจะต้องมีโดนอะไรชุดใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้แน่ๆ เลย

สำหรับวันนี้ผมต้องขอจบการ Review Cross Silhouette Frame ไปก่อนนะครับ ถ้ามีอะไรอัพเดทเกียวกับ SDCS ที่ผมทราบเพิ่มเติม ผมจะมาอัพเดทเพิ่มเติมให้นะครับ

SDCS, SD

Tagged in:

, , ,

About the Author

arhear

ผมอาเฮียครับ ผมชอบซื้อชอบต่อกันพลา แต่ผมแทบจะไม่มีความรู้หรือดูการ์ตูน Gundam เลย โดยส่วนมากผมจะเปิดไลน์ดองครับ คือซื้อมาแล้วดองใส่ตู้เสื้อผ้าไว้ กันพลาตัวที่ผมดองนานที่สุดน่าจะเป้นของปี 2550 ซึ่งปัจจุบันนี้ผมยังไม่ทราบได้เลยว่ากันพลาที่ดองไว้โดนปลวกดอยไปหรือยัง

View All Articles